โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ หรือชื่อเดิม โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำการสอนในรูปแบบสหศึกษา ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 289 หมู่ 5 ถนนเอกาทศรถ ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก บนพื้นที่ราชพัสดุของกระทรวงกลาโหม มีเนื้อที่ 200 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับ โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก ศาลจังหวัดเยาวชนพิษณุโลก สำนักวิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ภายในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนกีฬาจังหวัดพิษณุโลก สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก และสถานีตำรวจภูธรจังหวัดพิษณุโลก
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เดิมชื่อโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 289 หมู่ 5 ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดแห่งที่ 3 ของจังหวัดพิษณุโลกซึ่งได้ทำการเปิดเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2511 ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมวิสามัญศึกษา (ต่อมาเป็นกรมสามัญศึกษา) ในขณะนั้นได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม โดยมีนายมานะ เอี่ยมสกุล เป็นอาจารย์ใหญ่และและได้ปรารภกับ นายมานะ เอี่ยมสกุล ว่าต้องการจะได้ที่ดินประมาณ 200 ไร่ เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยชั้นสูงหรือโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้นในจังหวัดพิษณุโลกอีกหนึ่งแห่ง ต่อมานายละเมียน อัมพวะสิริ นายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในสมัยนั้น ได้ทราบจากนายประเสริฐ สิทธิชัย ผู้จัดการโรงงานพิษณุโลกองค์การทอผ้าว่ามีพื้นที่ว่างเปล่าเป็นพื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งกระทรวงกลาโหมครอบคลุมดูแลอยู่ประมาณ 200 ไร่เศษ ตั้งอยู่ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นายมานะ เอี่ยมสกุล ได้แจ้งให้อธิบดีกรมสามัญศึกษาทราบ ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ติดต่อขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อเป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาอีกหนึ่งแห่ง อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้แจ้งให้อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทราบว่า กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกบนพื้นที่ดังกล่าวอีกหนึ่งแห่ง และได้เปิดทำการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2517 โดยนายประสิทธิ์ มากลิ่น ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารคนแรกและได้เปิดรับนักเรียน ครั้งแรกระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 186 คน ครูอาจารย์จำนวน 7 คน โดยได้ฝากที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมก่อน ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน 2518 นายประสิทธิ์มากลิ่น อาจารย์ใหญ่คนแรกได้ทำการย้ายสถานที่เรียนจากโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม มาทำการเรียน ณ ที่อยู่ปัจจุบัน
โรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ขยายตัวเพื่อรองรับนักเรียน ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายอย่างรวดเร็ว ต่อมากระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายในการจัดการศึกษาให้ทุกโรงเรียนทั่วประเทศไทยให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน แม้จะอยู่ส่วนใดของประเทศไทยก็ตาม อีกทั้งกรมสามัญศึกษา มีนโยบายที่จะขยายโอกาสทางการศึกษาและต้องการที่จะมีโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาอยู่ในทุกภาคของประเทศไทย ทำให้เกิดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.สกลนคร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคใต้ ที่ จ.นครศรีธรรมราช และมีดำริที่จะตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่ จ.พิษณุโลก
ในปี พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายจุฬา ทารักษา ได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คือ นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้ตอบรับเป็นเบื้องต้น โดยรับโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาเข้าเป็นเครือข่ายของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โดยได้ดำเนินการร่วมกันผ่านกรมสามัญศึกษาเพื่อขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ แต่ได้ระงับไปช่วงหนึ่งเพราะผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นายอัศวิน วรรณวินเวศร์ เกษียณอายุราชการ ต่อมาผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา นายมนู วัฒนไพบูลย์ ได้รับทราบการขอจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา และได้รับนโยบายของกรมสามัญศึกษาในการประสานงานจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ที่โรงเรียนพิษณุโลกศึกษา จังหวัดพิษณุโลก เพราะเป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือมีสถาบันอุดมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันราชภัฏ สถาบันราชมงคล ผู้อำนวยการโรงเรียนพิษณุโลกศึกษาได้ประสานงานกับผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพฯ ปัจจุบัน คือ นางพรรณี เพ็งเนตร เพื่อเข้าเป็นเครือข่ายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้ตอบรับไม่ขัดข้องในการขอเป็นเครือข่ายเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้ประกาศให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา เป็น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ ซึ่งนับเป็นเกียรติอย่างสูงต่อชาวจังหวัดพิษณุโลก
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ เป็นโรงเรียนชั้นนำในจังหวัดพิษณุโลก สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศในระบบแอดมิชชั่น โควตาและรับตรงของ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ เป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน รางวัลรักการอ่านสานสู่ฝัน โครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ฯลฯ และรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคระดับประเทศ มากมายต่างเป็นเครื่องการันตี ดั่งเอกลักษณ์ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือที่ว่า "ความเป็นเลิศทางวิชาการและคุณธรรม"
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ จึงเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ชั้นนำของจังหวัดพิษณุโลก ตลอดจนเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคขนาดใหญ่ ถึงแม้ว่าจะก่อตั้งเมื่อปี 2546 เป็นน้องคนสุดท้องของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคก็ตาม
ประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา นักการศึกษาดีเด่นของโลก ศาสตร์จารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้มองเห็นความสำคัญของการให้การศึกษาแก่เยาวชน จึงได้ตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร และสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั้งประเทศ และเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ดร.ก่อ สวัสดิพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการการทรวงศึกษาธิการมีนโยบายที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนทุกภาคของประเทศไทยให้มีโอกาสในการศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกับส่วนกลาง และได้ดำริที่จะตั้งวิทยาลัยชั้นสูง (Junior College) หรือเตรียมอุดมศึกษาที่พิษณุโลกศึกษา
ปิ่นหทัย ประวัติเพลงประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เดิมทีเดียว เพลงประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคือ เพลงเตรียมอุดมศึกษา ที่มีเนื้อร้องขึ้นว่า “เราเตรียมอุดมศึกษา ...” เนื้อร้องของเพลงนี้เป็นผลงานของอดีตอาจารย์ผู้ล่วงลับ นิรันตร์ นวมารค ผู้เป็นตำนานเล่าขานกันสืบมาว่าสอน สามัคคีเภทคำฉันท์ ตลอดทั้งเรื่องได้โดยไม่ต้องเปิดตัวบทเลย การที่เพลงประจำโรงเรียนเปลี่ยนมาเป็น เพลงปิ่นหทัย นั้น ยังไม่มีผู้ใดสืบได้ชัดว่าเริ่มมาแต่เมื่อใดและด้วยเหตุผลกลใด อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เพลงปิ่นหทัย “ขึ้นแท่น” และรักษาตำแหน่งนี้ได้อย่างยาวนาน นอกเหนือไปจากสถานะพิเศษอันได้แก่การเป็นผลงานของนักเรียนเตรียมฯ เลขประจำตัว ๑ คือคุณชอุ่ม ปัญจพรรค์ และการกำหนดให้ต้องร้องทุกวันก่อนเข้าเรียนตั้งแต่สมัยผู้อำนวยการอัศวิน วรรณวินเวศร์แล้ว ยังมีความงดงามทางภาษาหรือวรรณศิลป์ที่สามารถขับความรักความศรัทธาที่มีต่อสถานประสาทวิชาแก่ตนได้อย่างคมเข้มและมีชีวิตชีวาเป็นอีกปัจจัยหนึ่งด้วย ในข้อเขียนนี้ ผู้เขียนจะได้อธิบายกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ผู้แต่งเนื้อร้องได้แฝงไว้อย่างแนบเนียน เพื่อให้เพื่อนนักเรียนแลเห็นความงามและเกิดความซาบซึ้งได้ด้วยตนเอง
อนึ่ง ผู้เขียนได้กำกับชื่อโวหารภาพพจน์ไว้ เพราะน่าจะช่วยให้ผู้อ่านจับประเด็นได้แม่นยำรัดกุมขึ้น แต่สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยก็มีคำอธิบายอย่างสั้น ๆ ประกอบพอเข้าใจ หวังว่าจะไม่เป็นที่รกหูรกตาของบรรดาผู้รู้
ความหมายตามอักษรของความว่า ปิ่น คือ “เครื่องประดับสำหรับปักผมที่มุ่นเป็นจุก” ในวัฒนธรรมตะวันออกเราถือว่าผมหรือศีรษะเป็นส่วนที่ตั้งอยู่บนสุดของร่างกาย ดังนั้นจึงมีความหมายขยายออกโดยปริยายว่า “จอม, ยอด” มักใช้ประกอบกับคำอื่นเพื่อให้ความหมายว่าพระเจ้าแผ่นดินเช่น พระปิ่นภพลบโลกนาถา, ปิ่นเกศประกอบกรณิย์กิจ
หทัย คือหัวใจ ในที่นี้ใช้ในความหมายเชิงนามธรรม คือความรู้สึกของบุคคล เช่น “หัวใจของเธอแทบจะแหลกสลายไปเมื่อรู้ข่าวว่า...” เมื่อรวมเป็น ปิ่นหทัย จึงมีความหมายว่า สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความรักเทิดทูนอย่างสูงสุด ชื่อนี้นอกจากเป็นการใช้โวหารภาพพจน์ อุปลักษณ์ ที่นำคำว่า ปิ่น มาประกอบกับคำอื่นและให้ความหมายที่แหวกไปจากขนบเดิม ๆ แล้ว ยังแฝงไว้ซึ่งนัยยะแห่งความรักและความกตัญญูกตเวทีอันเป็นคติธรรมประจำโรงเรียน คือระลึกนึกถึงพระคุณของโรงเรียนในฐานะที่เป็นยอดของหัวใจทีเดียว และเมื่อเราพิจารณาเนื้อร้องในลำดับต่อไป ก็จะเห็นว่าการตั้งชื่อว่า ปิ่นหทัย นี้นับว่าเหมาะสมเป็นที่สุดเพราะอาจครอบคลุมใจความของเนื้อร้องไว้ได้ทั้งหมดอีกด้วย
ชั้นที่ 1 ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องประชุม 1 ห้องเกียรติยศ (ห้องประชุม 2) ห้องประชุม 200 ที่นั่ง (ห้องโสตทัศนศึกษา) ห้องพัสดุ ห้องถ่ายเอกสาร สมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนพิษณุโลกศึกษา-เตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
ชั้นที่ 2 ห้องท่านผู้อำนวยการ (527) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายจัดการศึกษาและฝ่ายจัดการศึกษา+ฝ่ายรับเข้าศึกษา (521) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนและฝ่ายกิจการนักเรียน (525) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการและฝ่ายอำนวยการ (528) ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทั่วไปและฝ่ายบริหารทั่วไป (526) ห้องแนะแนวการศึกษา (524) ห้องประกันคุณภาพการศึกษา (523) ห้องทะเบียน-วัดผล (522)
ชั้นที่ 3 ห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 1 (531) ห้องศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ (537) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 533 534 535 536 ห้องเรียนE-Classroom (532) ห้องแสดงผลงานห้องเรียนสีเขียว (538)
ชั้นที่1 เป็นห้องระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 (218) ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 1-2 (211,212 ตามลำดับ) ห้องเรียน 213 214 215 216 217
ชั้นที่2 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและห้องปฏิบัติการสังคมศึกษา 2 (221) ห้องเรียน 222 223 224 225 226 227 228
ใต้ถุนอาคาร เป็นห้องโภชนาการ ห้องกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ห้องคณะกรรมการสภานักเรียน ห้องอาจารย์ สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
ชั้นที่1 เป็นห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (418) ห้อง To Be Number One (417) ห้องเก็บของ (416-417) ห้องระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (411) ห้องนอนเวร ห้องเรียน 412 413 414 415
ชั้นที่2 ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 1 (421) ห้องเรียน 422 423 424 425 426 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาคณิตศาสตร์ (427) ห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ 1 (428)
ชั้นที่1 ห้องพักครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (111-112) ห้องปฏิบัติการชีววิทยา1-2 (113 114 115) ห้องเก็บสารเคมี (117) ห้องปฏิบัติการเคมี1-2 (116 118) ห้องประชุม ห้องสมุดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นที่2 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์1-3 (128 127 122ตามลำดับ) ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กายภาพ (121) ห้องพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (123-126)
เรือนพยาบาล เป็นสถานที่ให้บริการในด้านยาสามัญประจำบ้านเบื้องต้นแก่นักเรียนตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับบริเวณสระว่ายน้ำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา_ภาคเหนือ